วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (วัดระฆัง) ตั้งอยู่ทางฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง... อ่านเพิ่มเติม
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (วัดระฆัง) ตั้งอยู่ทางฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง... อ่านเพิ่มเติม
วัดแห่งนี้ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือวัดบางหว้าใหญ... อ่านเพิ่มเติม
ใครที่กำลังมองหากิจกรรมในวันหยุด เราแนะนำที่นี้เลยนะ อิ่มบุญ อิ่มใจกับวัดระฆัง แล้วก็อิ่มอร่อยสบายท้อง ราคาย่อมเยามากกับของกินในวังหลัง ไปเฮอะ ดี เดินทางสะดวก
วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา
วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก
หลังจากดิฉันได้เดินทางไปวัดอรุณแล้วก็เดินทางมาวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน โดยเดินจากวัดอรุณข้ามสะพานมาไม่กี่ร้อยเมตร จึงเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง 20 บาท เข้าไปถึงวัดระฆัง ภายในวัดสะอาด บรรยากาศดีไม่แพ้วัดอรุณเลยค่ะ วันที่ดิฉันไปซึ่งเป็นวันพระพอดีทำให้มีนักท่องเที่่ยวจำนวนเยอะพอสมควร จากนั้นก็กราบนมัสการหลวงพ่อโตประจำวัด เมื่อเดินชมรอบๆวัดพอสมควร ก็เดินทางกลับโดยเรือข้ามฟากไปท่าช้าง เพียง3.50 บาทได้กินลมชมวิวแบบสบายใจ พักผ่อนแบบชิวๆเลยค่ะ
กราบหลวงพ่อโต วัดระฆัง
เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต
วันที่ไป เป็นช่วงปลายปี เดือน ธค.60
ชื่อเต็มวัด
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
...ในประเทศไทยพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์แต่ครั้นโบราณกาล ทรงศรัทธาและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา วัดสำคัญล้วนมีสิ่งปลูกสร้างทางศาสนา ปูชนียสถาน พระพุทธรูป และประวัติศาสตร์ที่ก่อเกิดจากพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยนั้นๆ.
... วัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการบูรณะ เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และเป็นวัดที่รวบรวมและสังคายนาพระไตรปิฎก มีสมเด็จพระสังฆราช (สี) พระผู้มีความสามารถแตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นองค์ประธาน ตามพระราชปรารภของพระเจ้าตากสินมหาราช ในการรวบรวมพระไตรปิฎกจากครั้งเสียกรุงศรีอยุทธยาแก่พม่า และเป็นวัดสำคัญต่อเนื่องในรัชสมัยรัตนโกสินทร์ จวบจนปัจจุบัน.
...ชื่อ วัดระฆัง ที่ประชาชนแต่ครั้นโบราณเรียกขานติดปาก มีที่มาจาก "ระฆัง" ที่ถูกขุดพบภาย
ในบริเวณวัด วัดแห่งนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เกจิอาจารย์ที่คนไทยเคารพศรัทธาอย่างสูงยิ่งรูปหนึ่ง ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5.
...ภายในบริเวณวัดมีปูชนียสถาน สิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนพระพุทธรูปที่เปี่ยมด้วยศิลปะอันงดงาม ดังนี้.
- พระอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หนึ่งในพระพุทธรูปที่เปี่ยมด้วยศิลปะอันงดงาม จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ถ่ายทอดจากฝีมือของจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่มีความงดงามและเปี่ยมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์.
- พระปรางค์ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น
ที่มีรูปทรงงดงาม หนึ่งในศิลปะชั้นสูงของไทย.
- พระเจดีย์ 3 องค์ , ต้นโพธิ์พันธุ์ลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นโพธิ์ที่วัดระฆังโฆสิตารามนี้ด้วยพระองค์เอง.
- ตำหนักแดง เป็นเรือนไม้สัก เชื่อกันว่าเป็นตำหนักสำหรับทรงกรรมฐานของสมเด็จพระเจ้าพระเจ้าตากสินมหาราช.
- หอพระไตรปิฎก เรือน 3 หลังแฝด ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่มีลวดลายศิลปะไทยอันงดงามประดิษฐานอยู่ภายใน.
- พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี) ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ
...วัดมีอาคารจอดรถ ท่าน้ำของวัดเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ประสงค์จะทำทานปล่อยสัตว์และให้อาหารปลา.
เทศกาลสงกรานต์ ได้มาสรงน้ำพระ กราบไหว้หลวงพ่อโต และสวดชินบัญชรในโบสถ์ การเดินทางสามารถมาได้ทั้งทางรถ และทางเรือ