วัดแห่งนี้ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือวัดบางหว้าใหญ... อ่านเพิ่มเติม
วัดแห่งนี้ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือวัดบางหว้าใหญ... อ่านเพิ่มเติม
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ซึ่งถ้ามาจากวัดอรุณฯ ก็สามารถนั่งรถต่อมาไม่เกิน 10 นาทีค่ะ... อ่านเพิ่มเติม
... "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร" : จัดสร้างในสมัยอยุธยา วัดแห่งนี้มีประวัติศาสตร์อันเป็นมงคลอาทิ
* สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
*สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกให้เป็นพระอารามหลวง
ภายในวัดมีจุดสักการะที่สำคัญ ดังนี้.
-พระอุโบสถ ประดิษฐาน "หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า" เป็นพระประธาน และมีจิตรกรรมฝาผนังที่ถ่ายทอดพุทธศิลป์อันงดงามโดยจิตรกรเอกในสมัย รัชกาลที่ 6.
-พระปรางค์, หอพระไตรปิฎก
- วิหารหลวงพ่อขาว
- วิหารหลวงพ่อโต
- วิหารสมเด็จพระสังฆราช(สี)2504
- เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ
- หลวงพ่อโตองค์ใหญ่...
วัดไม่ใหญ่โตมากแต่สามารถเข้าไปทำบุญได้ มีสถานที่ให้ปล่อยปลา และให้อาหารปลา คนไม่เยอะมากถือว่าเหมาะกับการมาทำบุญ
วัดแห่งนี้ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือวัดบางหว้าใหญ่) และวัดแห่งนี้ ยังมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่ง ถ้าใครที่ได้มากราบไหว้วัดระฆัง อานิสงส์ จะทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไป
วัดระฆังโฆสิตาราม แค่มองจากท่าเรือฝั่งนี้ก็เห็นความสดชื่นสวยงามฝั่งโน้น และก็ไม่ผิดหวังจริงๆ เสียดายเวลาน้อยไปหน่อย จะหาโอกาสไปนั่งซึมซับความงามอีกครั้ง ด้วยความศรัทธา 🙏🙏🙏
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดโบราณสมัยอยุธยา แต่เดิมชื่อวัดบางว้าใหญ่ (บางหว้าใหญ่) วัดนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกวัดนี้เป็นพระอารามหลวง และนอกจากนี้ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม”
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ซึ่งถ้ามาจากวัดอรุณฯ ก็สามารถนั่งรถต่อมาไม่เกิน 10 นาทีค่ะ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่าวัดบางหว้าใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการขุดพบระฆังโบราณในเขตวัด ทำให้ประชาชนพากันเรียกว่า วัดระฆัง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับตัวระฆังที่ขุดพบนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระแก้ว และทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างชดเชยให้วัดระฆังใหม่ 5 ลูก และพระราชทานชื่อให้กับวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม”
เวลาเปิด-ปิด : 08.00-16.00 น.
การเดินทาง : นั่งเรือข้ามฟากจากท่าเตียน
รถประจำทาง สาย 19, 57, 83