เดินทางมาครั้งแรก กับน้อง เห็นแล้วรู้สึก ว่ามันงามจริงๆนักท่องเที่ยว ต่างชาติมาเยอะ มาก... อ่านเพิ่มเติม
เดินทางมาครั้งแรก กับน้อง เห็นแล้วรู้สึก ว่ามันงามจริงๆนักท่องเที่ยว ต่างชาติมาเยอะ มาก... อ่านเพิ่มเติม
อย่าพลาดที่จะมาถ่ายรูปเก็บความประทับใจ อยู่ไม่ใกล้จากวัดพระแก้วและพระบรมหาราชวัง... อ่านเพิ่มเติม
มหาปราสาทที่มีความงดงามยิ่งใหญ่ ความงดงามของสถานที่แห่งนี้ สท้อนถึงความรุ่งเรือง และแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ที่ควรอนุลักษณ์ไว้ตราบนานเท่านาน
เป็นพระที่นั่งในเขตพระราชฐานชั้นกลางของพระบรมมหาราชวัง ที่งดงามมาก ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมยุโรป และไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งภายในพระบรมมหาราชวัง ที่นักท่องเที่ยวจากต่างชาติต้องมาเยี่ยมชมให้ได้สักครั้ง คนไทยอย่าน้อยหน้าเขานะ
อาคารออกแบบงดงามอย่างไทยๆ ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง สามารถเข้าชมได้ผ่านทางวัดพระแก้ว สามารถเข้าชมได้ทุกวัน
ใหญ่โตงดงามมาก สวยงามราวกับสวนดุสิตในสวรรค์ สถาปัตยกรรมแบบผสมไทยและยุโรปที่งดงามมาก นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเยอะมาก กลางวันแดดร้อนแนะนำพกร่มหรือใส่หมวกมาเดินชม
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 เป็นพระที่นั่งที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบไทยและยูโรป ตัวอาคารพระที่นั่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรป หลังคาเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย ไม่อนุญาติให้เข้าชมภายในอาคาร
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท...สถาปัตยกรรมไทยที่งดงามถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะเด่นหลากประการ แหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างชาติ ณ ที่แห่งนี้ เหตุตั้งอยู่ในเขตพระราชฐาน ประชาชนจึงชื่นชมได้เพียงภายนอก และมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับพระที่นั่งองค์นี้ตลอดจนพระที่นั่งองค์อื่น ๆ น้อย
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งเป็นหนึ่งในสามหมู่พระที่นั่งอันพระกอบด้วย หมู่พระมหามณเฑียร ด้านตะวันออก หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ลำดับถัดมา และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้านตะวันตก มีคติการสร้างจำลองจากผังพระราชวังครั้งอยุธยา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวอังกฤษ สร้างพระที่นั่งจักรี มีลักษณะปราสาท 3 องค์ ทอดตัวทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แล้วเชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน
การออกแบบพระที่นั่ง มีลักษณะใกล้เคียงพระราชวังบัคกิ้งแฮม ลอนดอน มาตุภูมิของสถาปนิก ลวงตาว่าอาคารนี้มีสามชั้น แท้จริงองค์พระที่นั่งมีเพึยงชั้นเดียว ด้วยออกแบบตามลักษณะการปลูกเรือนไทยยกพื้นสูง กล่าวคือ ชั้นล่างที่อยู่เหนือพื้นดิน เทียบได้กับใต้ถุนโล่ง เจ้าของในที่นี้คือพระมหากษัตริย์ไม่ได้ใช้พำนัก อาจใช้ประโยชน์เก็บข้าวของเครื่องใช้เป็นต้น ชั้นต่อมาจึงเป็นชั้นสำหรับใช้งานจริง เห็นได้จากบันไดทางเข้าอยู่นอกตัวอาคาร และมาหยุดยังชั้นนี้ ด้านบนสุดออกแบบเป็นหน้าต่าง เพื่อใช้เป็นช่องทางให้อากาศและแสงส่องถ่ายเท อนึ่งห้องด้านบนของพระที่นั่งองค์กลาง ประดิษฐานพระบรมอัฐิของรัชกาลที่สี่ ถึงรัชกาลที่แปด และสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่สี่ ที่ห้า และที่เจ๊ด ห้องด้านบนพระที่นั่งด้านตะวันออกเป็นห้องพระ ส่วนห้องด้านบนพระที่นั่งด้านตะวันตก เป็นหอพระอัฐิของพระมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่