สถาปัตยกรรมเด่น เจดีย์ขาวงาม บริเวณวัดตกแต่งได้อย่างลงตัว เดินทางไปมาง่าย อยู่ใกล้กับท่าแพ... อ่านเพิ่มเติม
สถาปัตยกรรมเด่น เจดีย์ขาวงาม บริเวณวัดตกแต่งได้อย่างลงตัว เดินทางไปมาง่าย อยู่ใกล้กับท่าแพ... อ่านเพิ่มเติม
วัดสวยสะอาด พื้นที่วัดค่อนข้างกว้าง ที่จอดรถกว้างสะดวก... อ่านเพิ่มเติม
วัดแสนฝาง วัดแสนฝางตั้งอยู่บนถนนฝรั่งเศษ ชาวบ้านเขาเรียกกันแบบนั้น วัดที่เก่าแก่องค์พระธาตุมีการประดับที่สวยงาม ช่อฉัตรเป็นทอง ภายในวัดสงบ
เดิมชื่อ วัดแสนฝัง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของนครเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล นักโบราณคดีของล้านนาหลายคนได้ให้คำสันนิษฐานว่า สร้างมาประมาณ ๖๐๐ ปีเศษมาแล้ว(ประมาณจุลศักราช ๖๘๗ ปี)
นับโดยอนุมานตามคำบอกเล่าของ นายบุญมา พุทธวงศ์ ซึ่งเป็นรัตตัญญู บุคคลผู้มีอายุร่วม ๑๐๐ ปี บอกว่าที่คนเฒ่าคนแก่ล่วงลับดับตายไปแล้ว เล่าสืบกันมาว่า
เมื่อพระเจ้ามังรายมหาราชได้จุติไปแล้ว พระเจ้าไชยสงครามทราบว่าพระเจ้ามังรายมหาราช พระผู้เป็นพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็เสด็จจากเมืองเชียงรายด้วยรี้พลจำนวนมาก
เมื่อถึงเชียงใหม่แล้วก็จัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายแด่ดวงวิญญาณพระเจ้ามังรายมหาราช เมื่องานถวายพระเพลิงพระศพเรียบร้อยแล้วจึงนำเอาพระอัฐิบรรจุในสถูปไว้กลางเมืองเชียงใหม่
ทรงชำระสะสางปรับปรุงราชการงานเมืองให้เข้ารีตเข้ารอยปกติสุขทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จึงทำการราชาภิเษกท้าวแสนภู พระราชบุตรเสวยราชสมบัติแทนพระเจ้าปู่(พระเจ้ามังรายมหาราช)
พระเจ้าแสนภูเสวยราชสมบัติได้ ๑ ปี พระยาขุนเครือผู้เป็นพระเจ้าอา ยกรี้พลมาจากเมืองนายเขตพม่าล้อมเมืองเชียงใหม่เพื่อแย่งชิงเอาราชสมบัติจากพระเจ้าแสนภูผู้เป็นหลาน พระเจ้าแสนภูไม่คิดต่อสู้พระเจ้าอาจึงหนีไปอยู่เมืองเชียงรายกับพระราชบิดา
พระเจ้าไชยสงครามทรงกริ้วพระยาขุนเครือเป็นอย่างมาก จึงจัดรี้พลมอบให้ท้าวน้ำท่วมเจ้าเมืองฝางยกรี้พลมาปราบพระยาขุนเครือ
ท้าวน้ำท่วมล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้ทุกด้าน จนกระทั่งจับพระเจ้าขุนเครือได้ขังไว้ในเรือนจำที่แจ่งเวียง ๔ ปี จึงจุติสวรรคต
พระเจ้าไชยสงครามจึงเสด็จมาจัดพระราชทานเพลิงศพแล้วจัดพระราชพิธีราชาภิเษกท้าวแสนภูให้เป็นเจ้าปกครองนครเชียงใหม่อีกเป็นครั้งที่ ๒
ท้าวแสนภูมีพระราชดำริว่าพระเจ้าปู่ พระราชบิดา มีพระราชหฤทัยในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยลำดับ พระองค์จึงมีพระประสงค์ที่จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาตามเยี่ยงพระเจ้าปู่และพระราชบิดาบ้าง
จึงดำริว่า ซากกองอิฐที่ปรากฏเป็นฐานพระเจดีย์ในสถานที่รกร้างว่างเปล่าใกล้แม่น้ำเล็ก ๆ ห่างจากน้ำแม่ระมิงค์มีซากหักพังบริเวณแห่งนี้ให้เป็นรูปร่างพระเจดีย์ที่มั่นคงถาวร และสร้างพระวิหาร กุฏิ ที่อยู่อาศัยถวายแด่สมณะชีพราหมณ์เพื่อเป็นการฝากฝังพระราชศรัทธาและพระราชสมบัติของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนา
สถานที่พระองค์สร้างจึงตั้งชื่อว่า วัดแสนฝัง
Cr: จากหนังสือประวัติวัดแสนฝาง ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
มีเจดีย์ศิลปะพม่า สวยงามมาก แต่ลักษณะเหมือนขาดการดูแล
ภายในวัดเงียบสงบ ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยว เหมาะแก่การมาสงบจิตสงบใจ